บล็อกเกอร์นี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อที่จะเป็นประโยชน์กับผู้ที่ได้เข้าเยื่ยมชมและได้ศึกษาในรายวิชา







วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554

นั่งสมาธิ...สวยจากภายในเพื่อสุขภาพ




                ด้วยเวลาที่น้อยลง และการงานที่รับผิดชอบมากขึ้น ผู้หญิงหลายคนต่างพากันไปออกกำลังที่ฟิตเนส แต่น้อยคนที่จะรู้ว่าการออกกำลังกายที่ดีอีกอย่างหนึ่งคือการนั่งสมาธิ ฝึกจิตใจ และร่างกายให้ทำงานอย่างเป็นระบบ การนั่งสมาธิมีอยู่หลายแบบ หลากหลายเทคนิค และหลายเหตุผล และเพื่อให้การนั่งสมาธินำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ดี
อย่างแรกผู้เริ่มต้นนั่งสมาธิควรเลือกสถานที่ที่ผ่อนคลาย ไม่มีอะไรมารบกวน เพื่อทำให้จิตใจสงบให้มากที่สุด จากนั้นนั่งในท่าที่สบาย การเลือกท่าทางในการทำสมาธิเป็นสิ่งสำคัญมาก ควรเลือกท่าที่ตนเองชอบมากที่สุด ถ้าหากไม่ชอบนั่งหลังตรง ตัวตรง เพราะรู้สึกไม่สบาย คุณอาจจะเลือกท่านอน นั่งพิง หรือแม้แต่กำลังเดินก็ได้
การรวบรวมความสนใจ ไปที่จุดใดจุดหนึ่งซึ่งเป็นหัวใจของการทำสมาธิ และอย่าเครียดจนเกินไป ในการนั่งสมาธิ มีหลายครั้งย่อมมีเรื่องบางเรื่องที่ผ่านเข้ามาในใจ ถ้าหากเป็นเช่นนั้น คุณสามารถปล่อยใจให้คิดถึงมันได้บ้างเป็นระยะ หากเมื่อเรียบร้อยแล้ว ขอให้ดึงสมาธิกลับมาที่เดิมให้ได้
การนั่งสมาธิเพื่อสุขภาพ เปรียบได้กับการให้ยากับจิตใจ เพราะการนั่งสมาธิจะทำให้สมองปลอดโปร่งรวมทั้งทำงานอย่างเป็นระบบ ดังนั้น จึงพบว่าผู้ที่นั่งสมาธิเป็นประจำ จะมีความทรงจำที่ดี ในขณะที่การทำงานของร่างกายก็สัมพันธ์กันดียิ่งขึ้น ที่เห็นได้ชัดคือ ระบบต่าง ๆ ของร่างกายสามารถทำงานได้รัดกุมมากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของระบบประสาท รวมถึงเรื่องการทำงานของหัวใจ การหายใจ ระบบย่อยอาหาร ซึ่งจะดีขึ้นโดยอัตโนมัติ
นอกจากนั้น ยังช่วยให้สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมคนที่เหมาะสมจะนั่งสมาธิ คงจะไม่พ้นผู้มีอาการเหนื่อยล้าโดยไม่มีสาเหตุ หดหู่ คิดมาก จิตใจไม่ค่อยสบาย รู้สึกเจ็บปวดตามร่างกายเป็นประจำ เคร่งเครียด นอนไม่หลับ หรือมีอาการอ่อนไหวมากจนเกินไปกับทุกเรื่องที่ผ่านเข้ามาในชีวิต
นักวิทยาศาสตร์จากสถาบัน NCCAM (National Center for Complementary and Alternative Medicine)ได้รับรู้ถึงประโยชน์ของการนั่งสมาธิด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย พวกเขาศึกษาถึงส่วนสมองของมนุษย์ และความสัมพันธ์ของระบบทั้งสอง ได้แก่ Sympathetic Nervous System และ Para Sympathetic Nervous System ภายในร่างกายอย่างละเอียด พบว่าการโต้ตอบของร่างกายสัมพันธ์กับการทำงานเป็นอย่างมาก การนั่งสมาธิเปรียบเสมือนการพักผ่อน ผ่อนคลาย และสร้างความเป็นระบบให้กับร่างกาย บทสรุปแล้ว นักวิทยาศาสตร์จึงเชื่อว่า การนั่งสมาธิส่งผลโดยรวมต่อองค์ประกอบของร่างกาย อันเป็นเรื่องสำคัญของสุขภาพโดยรวม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น