บล็อกเกอร์นี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อที่จะเป็นประโยชน์กับผู้ที่ได้เข้าเยื่ยมชมและได้ศึกษาในรายวิชา







วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554

‘ก๊าซในทางเดินอาหาร’ สัญญาณเตือนโรคร้าย!!

ก๊าซในทางเดินอาหาร ถือเป็นเรื่องธรรมชาติที่ทุกคนต้อง เรอ-ผายลมแต่ คงไม่พึงประสงค์นักหากผิดที่ผิดทาง สิ่งเหล่านี้เกิดจากการมีก๊าซในทางเดินอาหาร ซึ่งร่างกายต้องขับออกมาอยู่เป็นประจำ แต่หากมีมากเกินไปจะทำให้เกิดการจุกเสียดแน่นท้อง รวมทั้งอาการอื่นๆ ตามมา
ยิ่ง ในภาวะปัจจุบัน สังคมขับเคลื่อนให้คนทำงานแข่งกับเวลามากขึ้น จำต้องรับประทานอาหารจานด่วนเกือบทุกวัน เพื่อย่นระยะเวลาการไปถึงที่ทำงานให้เร็วขึ้น หรือบางคนรีบร้อนจนไม่ทันเคี้ยวอาหารให้ละเอียด เมื่อวงจรชีวิตเร็วขึ้นๆ ขณะที่ระบบของร่างกายยังทำงานในจังหวะจะโคนดังเดิม โรคต่างๆ ก็ตามมาโรค ก๊าซในทางเดินอาหาร หลายคนอาจไม่ให้ความสนใจนัก เพราะไม่มีผลร้ายแรงต่อร่างกาย แต่อาจบ่งชี้ว่า คุณกำลังประสบกับภาวะโรคร้ายอยู่ !!
ก๊าซในทางเดิน อาหารเกิดจากปัจจัยแรกคือ กลืนอากาศเข้าไป ส่วนใหญ่เป็นก๊าซไนโตรเจนและก๊าซออกซิเจน คนส่วนใหญ่มักนึกไม่ถึงว่าโดยปกติเราจะกลืนก๊าซทุกๆ ครั้งที่กลืนน้ำหรืออาหารเฉลี่ยประมาณ 2.6 ลิตรต่อน้ำ 1.5 ลิตรต่อวัน และอาจมากกว่านี้ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติ ซึ่งกลืนก๊าซโดยไม่รู้ตัว โดยก๊าซที่กลืนมักถูกขับออกด้วยการเรอ และส่วนน้อยถูกขับออกด้วยการผายลม อย่างน้อยประมาณ 0.5 ลิตรต่อวัน
ปัจจัยที่สอง เกิดจากการสร้างก๊าซขึ้นมาของร่างกายส่วนใหญ่ โดยแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่จะย่อยอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต และน้ำตาลที่ย่อยยากบางชนิด และจากปฏิกิริยาของสารในร่างกาย กลุ่มนี้จะเป็นประเภทก๊าซไฮโดรเจน, คาร์บอนไดออกไซด์, มีเทน ตลอดจนก๊าซอย่างอื่นอีกเล็กน้อย อันจะทำให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์
คน เราผายลมเฉลี่ย 10-20 ครั้งต่อวัน ในปริมาณก๊าซที่ถูกขับออกมาถึง 0.5-1.5 ลิตรต่อวัน โดยไม่ขึ้นอยู่กับอายุหรือเพศ
คนไข้มักมีอาการแน่นท้อง ท้องอืด เรอบ่อย ผายลมบ่อยกว่าปกติหรือเห็นผิดปกติ โดยอาการเหล่านี้ผู้ป่วยเองรับรู้ว่าเกิดก๊าซภายในทางเดินอาหารมากกว่าปกติ ขณะเดียวกันแพทย์ตั้งข้อสังเกตว่า หากมีอาการเหล่านี้บ่อยๆ หรือนานๆ บ่งชี้ได้ถึงคนไข้อาจเป็นโรคร้ายแรงอยู่เดิมแล้ว อันจะกระตุ้นให้เกิดก๊าซในทางเดินอาหารมากกว่าปกติ เช่น โรคลำไส้แปรปรวน โรคกรดไหลย้อน แผลในกระเพาะอาหาร มะเร็งในทางเดินอาหาร ฯลฯ ดังนั้นควรให้ความสำคัญโดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมาก ตลอดจนคนที่ป่วยมานานและทวีความรุนแรงมากขึ้น
รวมถึงคนไข้ที่มีอาการ เตือนบางอย่าง เช่น น้ำหนักลดผิดปกติ โลหิตจาง ถ่ายอุจจาระ ท้องผูก หรือท้องเสียเป็นประจำ
การรับประทานอาหารบางประเภท เป็นอีกปัจจัยกระตุ้นให้เกิดก๊าซในทางเดินอาหาร ดังนั้นผู้ป่วยควรเลี่ยงอาหารประเภทนม ไอศกรีม เนย โยเกิร์ต น้ำอัดลม น้ำผึ้ง หรือของขบเคี้ยว เช่น ถั่วต้ม ถั่วเหลือง ลูกอม หมากฝรั่ง ข้าวโอ๊ต ข้าวโพด มันฝรั่ง เมล็ดพืชอบแห้ง ตลอดจนกะหล่ำปลี บรอกโคลี เป็นต้น 
ผู้ มีภาวะเสี่ยงโรคนี้ ควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียด หลีกเลี่ยงการพูดคุยในระหว่างกินอาหาร เพื่อไม่ให้อากาศเข้าสู่ทางเดินอาหารมากเกินไป และไม่ควรนอนหรือเอนตัวหลังรับประทานอาหาร ควรออกกำลังกายอยู่เสมอ เพื่อช่วยให้ลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น
ส่วนการรักษาด้วยยาบางชนิดจะออก ฤทธิ์โดยกระตุ้น การบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนบน ซึ่งต้องระวังผลข้างเคียงในกรณีที่ใช้ยาติดต่อกันนาน ดังนั้นคนไข้ไม่ควรบริโภคอาหารที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง อย่างไรก็ตาม อาการดังกล่าวอาจมาจากสาเหตุอื่น เช่น ผู้ป่วยที่มีอายุมาก มีอาการมานานหรือแย่ลง รวมทั้งมีอาการเตือน เช่น โลหิตจาง น้ำหนักลดผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์ทันที

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น